การกำจัดอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคที่ไม่ใช้แล้ว ห้ามทิ้ง
การกำจัดอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคที่ไม่ใช้แล้ว อย่างเช่นคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์อิเล็คโทรนิคอื่นๆ ที่เรียกกันว่าขยะอิเล็คโทรนิคแบบปลอดภัยนั้น กำลังเป็นปัญหาที่ลุกลามอยู่ในทวีปแอฟริกา
ในแต่ละปี โลกของเราผลิตขยะอิเล็คโทรนิคมากกว่า 50 ล้านตัน แต่ถูกนำไปแปรรูปหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่เพียงไม่ถึง 25% เท่านั้นเอง อุปกรณ์อิเล็คโทรนิคเหล่านี้ เข้าไปยังแอฟริกาในรูปของสิ่งของบริจาค หรือเป็นสินค้า แต่หลังจากอายุการใช้งานที่แสนสั้น ขยะเหล่านั้นก็ถูกนำไปทิ้ง ซึ่งรัฐบาลของประเทศเหล่านั้น ยังไม่สามารถหาวิธีกำจัดขยะอิเล็คโทรนิคแบบปลอดภัยได้
แต่สำหรับที่เคนยา บริษัทแปรรูปขยะอิเล็คโทรนิคแห่งหนึ่งกำลังเป็นหัวหอกสำคัญ ในการกำจัดขยะอิเล็คโทรนิคแบบปลอดภัย
เด็กนักเรียนของโรงเรียนประถม Our Lady of Nazareth ในกรุงไนโรบี ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มือสองที่ได้รับบริจาคมาจากกลุ่มองค์กรผู้ไม่หวังผลกำไรในยุโรปกลุ่มหนึ่ง คอมพิวเตอร์เหล่านี้ ผ่านการทำความสะอาด ตรวจสอบสภาพ และปรับแต่งเพื่อใช้ในโรงเรียน และหน่วยงานอื่นๆ แต่คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ที่บริจาคมายังแอฟริกา ไม่ได้มีคุณภาพที่สูงนัก
คุณ Esther Mwiyeris Wachira ผู้ชำนาญวิชาการเทคโนโลยี แห่ง Global e-School and Communities Initiative หรือ GeSCI ซึ่งเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไร ก่อตั้งขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ เพื่อช่วยเหลือบรรดาประเทศกำลังพัฒนา ในการใช้เทคโนโลยีข้อมูล และการสื่อสารเพื่อพัฒนาระบบการศึกษาค่ะ
คุณ Esther กล่าวว่า เมื่ออุปกรณ์อิเล็คโทรนิคที่เป็นของบริจาคเข้ามาในประเทศ อุปกรณ์เหล่านั้นก็จะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันต่างๆ เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ อาจจะเป็น 1 หรือ 2 ปี และในช่วงเวลานั้น การดูแลรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ก็มีราคาแพง เพราะเครื่องมักจะเสียอยู่บ่อยๆ และที่แย่ไปกว่านั้น หลังจาก 1-2 ปี คอมพิวเตอร์สว่นใหญ่ ก็จะกลายเป็นขยะอิเล็คโทรนิคไปในที่สุด
ขยะอิเล็คโทรนิคในที่นี้หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคที่เก่าแล้ว ไม่มีประโยชน์แก่เจ้าของอีกต่อไป หรือหมดอายุการใช้งาน
นอกจากนี้ประเทศต่างๆ ในแอฟริกายังขาดความสามารถในการจัดการกับสารตะกั่ว แคดเมี่ยม สารปรอทพลาสติก และสารพิษอื่นๆ ที่อยู่ในขยะอิเล็คโทรนิคอีกด้วย
อุปรณ์อิเล็คโทรนิคมือสองในแอฟริกา ส่วนใหญ่แล้วมาจากประเทศในยุโรป ไม่ว่าจะมาในรูปของของบริจาคหรือเป็นสินค้า แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถใช้งานได้ในระยะยาว และในที่สุดก็ต้องนำไปทิ้ง
คุณ Neelie Kroes รองประธานสหภาพยุโรปกล่าวกับวีโอเอว่า ประเทศในยุโรปมีกฏหมายที่เข้มงวดในการกำจัดขยะอิเล็คโทรนิคทั้งในบ้านและนอกบ้าน และยังต้องมีการแปรรูปขยะอิเล็คโทรนิค และหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมด้วย และว่า การที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ ในแอฟริกาหาวิธีจัดการกับขยะอิเล็คโทรนิคอย่างมีประสิทธภาพนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญ
คุณ Neelie Kroes กล่าวว่า บรรดาประเทศด้อยพัฒนานั้น มักจะคาดหมายกันว่า จะต้องพยายามผลักดันเศรษฐกิจ เพราะคิดว่า ยิ่งมีการพาณิชย์อิเล็คโทรนิคมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีมากขึ้นแล้วนั้น แล้วค่อยมาคิดแก้ปัญหาขยะกันในภายหลัง
แอฟริกาใต้ เป็นประเทศเดียวในทวีปแอฟริกาที่มีกฏหมายครอบคลุมในเรื่องของขยะอิเล็คโทรนิค ส่วนเคนยามีแนวทางการกำจัดขยะอิเล็คโทรนิค ซึ่งคาดว่าจะเป็นกฏหมายได้ภายในเวลา 2 ปี
นอกจากนี้ เคนยายังเป็นผู้นำในเรื่องของการนำขยะอิเล็คโทรนิคมาหวุนเวียนแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ ในแถบแอฟริกาตะวันออก ดังเช่นที่กรุงไนโรบีนั้น ศูนย์ขยะเครื่องไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็คโทรนิค ได้แปรสภาพเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแล้ว 4,000 เครื่อง ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2007
ไม่มีรายการสินค้ามนหมวดหมู่นี้.